วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล

อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล


หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
เป็นหน่วยทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้





เมาส์ (Mouse)
เมาส์มีหลายขนาดลักษณะต่างกันออกไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือโดยมีส่วนประกอบดังนี้ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่างหรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สามหรือสี่ปุ่ม การเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
การควบคุม




แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

  • แป้นอักขระ (Character Keys) จะมีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด
  • แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น
  •                                 แป้นฟังก์ชั่น (Function Keys) คือแป้นที่อยู่แถวบนสุด มีลักษณะเป็น F1, F2,…,F12  ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
  •                                  แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์


จอยสติก (Joy Stick)
จอยสติก จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ  นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์





ปากกาแสง (Light pen)
ใช้เซลล์แบบ Photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (Computer Aided Design หรือ CAD) รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือ ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น


อุปกรณ์เก็บข้อมูล

     มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายชนิดสำหรับ PC ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ และออปติคัลไดรฟ์ ที่ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องหลัก หรือแฟลชดิสก์, การ์ดหน่วยความจำ และออปติคัลไดรฟ์แม่เหล็ก (MO) ฯลฯ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เริ่มมีความสามารถหลายด้านมากขึ้น ระบบก็ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์ต่างๆ ทำให้ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลสำหรับ PC ทุกเครื่อง
นอกจากนี้ โมดูลหน่วยความจำยังอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ยกเว้นแต่ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เมื่อ PC ปิด หรือเมื่อสิ้นสุดแอปพลิเคชั่น ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำจะถูกลบออก เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับการรันโปรแกรมอื่นต่อไปในอนาคต ฮาร์ดดิสก์ นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลระยะยาว ผู้ใช้มักจะเก็บเวิร์กชีต, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาลงบนฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ว่าจะเก็บไว้ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแฟลชดิสก์

     ออปติคัลไดรฟ์ หรือเครื่องเบิร์น ใช้ในการอ่านไดรเวอร์ หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่เก็บอยู่ในแผ่น CD เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกในการโหลดแล้ว ความสำคัญของออปติคัลไดรฟ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ด้วยการใช้เครื่องเบิร์น คุณสามารถเบิร์นข้อมูลลงในดิสก์ นอกจากเบิร์น CD แล้ว ยังสามารถเบิร์นดิสก์ที่มีความจุขนาดใหญ่ได้ (4.7GB สำหรับแผ่น DVD ด้านเดียว ชั้นเดียว) แผ่นเหล่านี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ยาวนาน ผู้ใช้อาจสามารถสร้างดิสก์ที่บรรจุภาพยนตร์ หรือดนตรีสำหรับเล่นโดยใช้เครื่องเล่น DVD ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของเครื่อง PC



ฮาร์ดดิสก์
     ในบรรดาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของฮาร์ดดิสก์ ความเร็วการหมุนนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ความเร็วการหมุนปัจจุบันสำหรับทั้งฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA และ IDE ขนาด 3.5 นิ้วก็คือ 7200RPM; ในขณะนี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็ว 5400 RPM นั้นไม่ค่อยพบแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งก็คือบัฟเฟอร์หน่วยความจำ ในขณะที่บัฟเฟอร์หน่วยความจำสูงขึ้น ความเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ในการเข้าถึงข้อมูลซ้ำๆ บนฮาร์ดดิสก์ก็เร็วขึ้นด้วย และสมรรถนะการเข้าถึงก็เพิ่มขึ้นด้วย บัฟเฟอร์หน่วยความจำของฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะเป็น 8 MB และความแตกต่างด้านราคาจากชนิด 2MB นั้นเล็กน้อยมาก ซึ่งคุณควรซื้อชนิด 8 MB มาใช้จะดีกว่า

เครืองเบิร์น DVD
แม้ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ข้อได้เปรียบของความจุขนาด 4.7 GB (ด้านเดียว ชั้นเดียว) ของแผ่น DVD ก็ทำให้เครื่อง เบิร์น DVD เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ด้วยการเปิดตัวเครื่องเบิร์นที่สนับสนุนทั้งมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW และแผ่นดิสก์สองชั้นแบบใหม่ที่เป็นที่หมายตาของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องเบิร์น DVD จึงมีโอกาสเข้ามาแทนที่เครื่องเบิร์น CD-R/RW ในอนาคต